ลักษณะของวัว






วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนมีการประเมินว่า ปัจจุบันมีวัว 1,300 ล้านตัวทั่วโลก เมื่อ พ.ศ. 2552 วัวเป็นปศุสัตว์ชนิดแรกที่มีการทำแผนที่จีโนมอย่างสมบูรณ์







แหล่งอ้างอิงรูปภาพจากเว็ป คลิ๊กที่นี่



ต่อไปเรามารู้จักกับอวัยวะภายในที่เกี่ยวกับการย่อยของวัวกันดีกว่า

แหล่งอ้างอิงรูปภาพจากเว็ป คลิ๊กที่นี่

สัตว์จะมีระบบการย่อยอาหารที่แตกต่างจากคน ในพวกสัตว์กินพืช เช่น วัว ควาย จะมีโครงสร้างของทางเดินอาหารแตกต่างจากคนและสัตว์กินเนื้ออื่น ๆ อยู่ 2 ประการ คือ

  
1.  การมีทางเดินอาหารที่ยาวมากๆ อาจยาวมากถึง 40 เมตร ทำให้ระยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้น และสภาพของกระเพาะอาหารค่อนข้างเป็นกรด กระเพาะอาหารของวัวและควายยังแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยกระเพาะอาหาร 3 ส่วนแรก เป็นส่วนที่ขยายขนาดขึ้นของหลอดอาหาร ไม่มีการสร้างน้ำย่อยในการย่อยอาหาร กระเพาะอาหารส่วนที่ 4 เป็นกระเพาะอาหารจริง กระเพาะอาหาร ทั้ง 4 ส่วนมีชื่อและลักษณะเฉพาะคือ 

 1.1 กระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (rumen) เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและโพรโทซัวจำนวนมาก จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถสร้างน้ำย่อยเซลลูเลสช่วยย่อยสลายสารเซลลูโลสจากพืชที่กินเข้าไปได้ นอกจากนี้ยังสามารถสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราวเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียดได้ด้วยจึงเรียกสัตว์พวกนี้ว่า สัตว์เคี้ยวเอื้อง แบคทีเรียและโพรโทซัวยังสามารถสังเคราะห์กรดไขมันจากสารคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ และสังเคราะห์กรดอะมิโนจากยูเรีย และแอมโมเนียหรือได้จากการย่อยสลายโปรตีนจากพืช อาหารเหล่านี้จะถูกส่งเข้าสู่กระเพราะอาหาร ส่วนเรติคิวลัมและโอมาซัมต่อไป 

 1.2 กระเพาะรวงผึ้งหรือเรติคิวลัม (reticulum) ทำหน้าที่ย่อยนม เมื่อโค กระบือยังเล็กอยู่ และมีแบคทีเรียเช่นเดียวกับกระเพาะอาหารส่วนแรก  

1.3 กระเพาะสามสิบกลีบหรือโอมาซัม (omasum) ทำหน้าที่ผสมและบดอาหาร นอกจากนี้ยังดูดซึมและซับน้ำจากกระเพาะผ้าขี้ริ้วด้วย 

 1.4 กระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (abomasum) เป็นส่วนกระเพาะอาหารจริง มีการย่อยอาหารและจุลินทรีย์ไปพร้อมๆ กัน แล้วจึงส่งอาหารต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้สมบูรณ์ ดังนั้น วัว ควาย จึงได้สารอาหารจากอาหารและจุลินทรีย์ไปพร้อมๆ กัน จึงเพียงพอต่อความต้องการ เมื่ออาหารย่อยในกระเพาะอาหารแล้วจะผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น จะมีการย่อยโปรตีนไขมันและแป้งจากน้ำย่อยของตับอ่อนและน้ำดีจากตับจะช่วยให้ไขมันแตกตัวและย่อยได้ง่ายขึ้น ต่อจากนั้นจึงดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตต่อไป 

 2. การมีไส้ติ่งขนาดใหญ่ ไส้ติ่งของสัตว์กินพืชจะมีขนาดใหญ่และก็เป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารโดยจุลินทรีย์เช่นกัน ทำให้วัวและควายย่อยอาหารที่ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ ได้เป็นอย่างดี สำหรับไส้ติ่งของสัตว์กินเนื้อจะมีขนาดเล็กและไม่ได้มีหน้าที่ใดๆ แล้ว
เพียงเท่านี้ก็ทำให้ทราบเเล้วว่า การย่อยอาหารของวัวมันเเตกต่างจากมนุษย์มากเเล้วและยังจะมีเอมไซม์ที่แตกต่างอีกด้วย 

สุดท้ายก็ขอปิดท้ายด้วยรูปลักษณะในทั่วไปของวัว













เรียบเรียงโดยนิชนันท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น